Cold War Era Repression ในบริบท การเมือง สังคม และ เงิน

วันที่ 27 ตุลาคม 2560 – หลังจาก “วันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ”

ทำให้ผม เห็น สิ่งที่น่ากลัว ที่ยังครุกรุ่น ในสังคมไทย ที่มาพร้อมกับความอาลัยอาวร และ หลายๆ คนรู้สึก โหวง-เหวง หรือเรียกสั้นๆ ว่า เคว้ง.

แต่ทำให้เรานึกย้อนกลับไปช่วงยุค 80-90 ในสมัยที่ผมเพิ่งเกิดมาลืมตาบนโลกใบนี้ และ ยังไร้ประสบการณ์ จวบจน ปัจจุบัน ก็ค่อยๆ เข้าไปศึกษาประวัติศาสตร์ ที่เกิดขึ้นทั้งโลก

สิ่งแรก ที่ผมนึกถึง คือเรื่อง ความซึมเศร้า และ เห็นพฤติกรรม ซึมเศร้า ของ สังคม ที่ ทุกคน เกิดอาการซึมเศร้า ไปใน Pattern เดียวกัน

ทำให้นึกถึงคำๆแรก ที่เป็น ปรากฏการณ์ทางสังคม ที่ผมน่าจะฟังมาผ่านๆหู ตอนช่วงปี 2009 มีอาจารย์ ทางด้านนิเทศ ได้เอ่ยถึง คำว่า “Dramatic Reaction”

คำๆ นี้ หาใน Google ไม่มีแหล่งที่มา, อาจารย์ ทางนิเทศน์ ไม่รู้ว่าเอามาจากไหน ไม่เห็น ใน Paper หรือ Journal ใน Google หรือแหล่ง ที่มาที่ชัดเจน

การบรรยายในปี 2009 ได้กล่าวเรื่อง “Drama Reaction” ซึ่งเป็น อิทธิพล ที่ส่งผ่านไปสู่สังคม และ ทำให้เกิด ความคิด ความรู้สึก ในลักษณ์ เดียวกัน พร้อมๆกัน เหมือนปรากฏการณ์

ใน ช่วง วันที่ผ่านมา ตั้งแต่วันที่ 23 ผมได้มีโอกาส เข้าไปในเมือง และเห็นกระแส ครุกรุ่น บางคนเคร่งเครียด บางคนเศร้าโศก เวทนา อย่างเห็นได้ชัด หลายๆคน มีสีหน้าสิ้นหวัง

ผมจะไม่วนเข้าไปเรื่องการเมือง แต่บทความนี้ ขอสืบค้นที่มาที่ไป เรื่อง Drama Reaction และ Citation ที่น่าจะใหล้เคียง และนำมาศึกษา ความเป็นมา และ อะไร ต่อมิอะไร ที่ผม อยาก Observe และ เข้าใจมัน

ก็เลยไปเจอ : Thailand’s Assembly of the Poor: background, drama, reaction Chris Baker – South East Asia Research Vol. 8, No. 1 (MARCH 2000), pp. 5-29 [Citation] ทำให้ผมเจอคำค้นที่น่าสนใจตามมา คือ “Cold War era repression” ก็เลยนำมาเรียบเรียงใน บทความนี้ครับ

 

อย่างใน Soviet ยุคสงครามเย็น เห็นมีบทความ ใน wiki เขียนเกี่ยวกับ Political repression in the Soviet Union ผมขอสรุปคร่าวๆ หากสนใจ ให้ไปหาอ่านตามลิงค์ได้เลยครับ

เหตุการณ์ ตุลา 30 – The Gulag Memorial, และหลายๆปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามเย็น ที่เป็น เหตุมาจาก ช่วงยุคก่อน ตั้งแต่สมัย สงครามโลก ครั้งที่ สอง เช่น เรื่อง “Kolkhozy” เรื่องของที่นา การเพิ่มผลผลิตจำนวนมากๆเพื่อ ประชากรในชุมชนเมือง อันนี้ล้วนแต่เกี่ยวพันกับ Economic (ในส่วนของ Collectivization) ซึ่งในยุคนั้น เมืองต้องการผลผลิตมาป้อนการบริโภคที่สูงมากๆ จนเกิดกระแสต่อต้าน Collectivization Policy

ผมเขียนถึง Soviet เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจนะครับ ว่า ในยุคนั้น เรามีเหตุผล ในการ Block การขยายอิทธิพล ของ คอมมิวนิสต์
ประเทศไทย โดนล้อมด้วย “แดง” ลองเข้าไปอ่าน ว่า ไทยเรา รอด และ ที่ต้อง รอดนั้น เรารอดจากอะไร ?

อุดมการณ์ มันเรียนรู้ และ สร้างกันง่าย แต่ถ้าเราไปศึกษา ข้อเท็จจริงและสิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นไปทางประวัติศาสตร์ แล้วพยายามเชื่อมโยงที่มาที่ไป ทำไม เราจำเป็นต้องรอด

ในบริบทนี้ ให้มองเรื่อง Economic เป็นสำคัญครับ

ในช่วงเวลานั้น ก็ยังมีประเด็นเรื่อง Genocide, Ethnic Cleansing และ การจัดการทางด้านประชากร
ช่วงนั้น จีนแดง และ ก๊กมินตั๋ง ก็ทำสงครามกันอยู่ ก๊กมินตั๋ง ถูกต้อนออกไป ไต้หวัน และ ลงมาไทย ลงมา มาเลยื และกลายเป้นจีนโพ้นทะเล
และ หลายๆท่าน ก็มาพำนัก และกลายเป็นประชากร ไทย เชื้อสายจีน (Thai Chinese – ผมมองว่าอาจเป็นคำที่จะทำให้ Racist ในสิงคโปร์ ไม่มีการเขียนสิงคโปร์ เชื้อสายจีน เขารวบๆ เป็นสิงคโปเรี่ยนกันหมด) เอาเป็นว่าไม่ต้องไปแบ่ง การเมือง สงคราม สร้างชาติ และ อธิปไตยชาติไปแล้ว Thai is Thai มองแบบนี้ มันจบกว่า และ มองเรื่อง บริบทของ Economic เป็นสำคัญ.

ที่กล่าวเรื่อง Genocide ไม่ใช่แค่ไทยเชื้อจีน แต่แขกเชื้อไทย ฮินดู ซิกส์ มลายู ขาวเขา กระเหรี่ยง ลาวโซ่ง ญวน ล้วนจะได้รับผลกระทบในแบบเดียวกัน นั่นจึงเป็นเหตุผลหลัก ทำไม วันนี้ จึงเป็นวันที่คนเศร้ามากๆ เพราะเขาเกิดและใช้ชีวิตผ่านช่วง สงครามเย็นมาทั้งนั้น

รุ่นเด็กๆ ที่โตมาจาก กระแส นักร้องเกาหลี แต้นส่ายตูด แหกจิ๋ม เปิดหวอ และ ดาราพริตตี้ ถ่ายรูปลง IG ขี่ Benz Sport ฉีด กลูต้า ขายลงเฟสบุ๊ค เหล่านี้ ไม่ได้ มี Reaction หรือ ซึมซับ ในช่วงยุคสงครามเย็น

ผมเลยมองเห็นเป็นสองมิติ ที่เป็นเส้นแบ่งชัดเจน คือ ช่วงชีวิต ที่ทัน สงครามเย็น และ ช่วงที่ชีวิต ที่เป็น Mass Media
พวก Gen. Y และ ค่อนไป Gen Z ก็จะไม่ได้รับ Socialization ในช่วงยุคสงครามเย็น เพราะเรา กลายเป็นบริโภคนิยมไปในตัวแล้ว เราใช้สมองขบคิดน้อยลง เราปล่อย Emotion และ แรงบันดาลใจในแบบ Individualism มากขึ้น
ทำให้เห็น เส้นแบ่งของคนสองยุค ระหว่าง X || Y+Z อย่างชัดเจน ทางผมเอง เป็น X และ Y ผสมๆกัน และ คุยกับ Z ไม่ค่อยรู้เรื่องแล้ว

กลับมาที่ Genocide.

ตัวอย่างที่ชัดเจน คือช่วง ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ของเขมรแดง และ พวก การฆ่าล้างกลุ่มกระเหรี่ยง ในสหภาพเมียนม่า ในสมัยที่ ทั้งสองประเทศ ใช้ลัทธิทางการทหาร ผนวกกับ ลัทธิสังคมนิยม ที่ยังไม่ใช่แบบ คอมมิวนิสต์ แต่เรา เข้าใจรวมๆ ว่าพวกเขาเป็นแดง คอมมิวนิสต์

ในบริบทพวกนี้ ทำให้ผมเอง มองเห็นภาพลางๆ ที่ผมเติบโตมา มักจะมีเหตุปะทะ การยิง การหยุดยิง และ ผู้ก่อการร้าย ผกค. อะไรแบบนี้
มันคือเรื่อง การผลักดันอิทธิพล ของจีน และ โซเวียต ในยุคสงครามเย็น

ที่กล่าวมา นี่คือ จุดเชื่อมโยงหนึ่ง ในคำค้น “Cold War era repression”

ต่อมา “post-Cold War period” ก็เป็นเรื่องของ สงครามใน ตะวันออกกลาง อิรัก อิหร่าน ซีเรีย และพัฒนาการเป็นสงครามศาสนา และ การเป็นรูปแบบการก่อการร้าย ประเทศไทยก็มีกลุ่มโจรใต้เข้ามา ปัจจัยพวกนี้ นอกจากความเชื่อแล้ว มีเรื่องลับๆ ใต้ดิน ที่ไม่สามารถเผยแพร่ในบทความ ในบล๊อกแห่งนี้ได้ ทั้งเรื่อง Trading การต่อรอง และ เรื่อง เวลา การผูกกันของเหตุปัจจัยเหล่านี้ เป็นศาสตร์สำคัญที่ผมศึกษาใน การเก็งกำไร และ Value ที่ส่งผ่านมาจาก Transaction และ ระบบธนาคาร

การค้นคว้า เรื่อง Cold War Era Repression และ Drama Reaction ในบทความนี้ ขอยุติประมาณนี้ เพราะ ต้องกลับไป research เรื่องการเก็งกำไร จาก Transaction อย่างด่วนที่สุด แต่ผมขอสรุปนะครับ ให้พยายาม มอง ความเชื่อมโยง แล้วคุณจะเข้าใจ ทำไม ต้องมี ไอ้นี่ ทำไม ต้องเกิดไอ้นั่น แล้วจึงจะเริ่มจับจังหวะ การเก็งกำไร ได้จริงๆครับ

 

One thought to “Cold War Era Repression ในบริบท การเมือง สังคม และ เงิน”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.